นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จับมือ สมาคมน้ำยางข้นไทย พัฒนานวัตกรรมนาโนผลิตภัณฑ์พ่นเคลือบผิว ช่วยลดการสูญเสียน้ำยางให้แก่อุตสาหกรรมยางไทยได้กว่า 3 แสนตันต่อปี
เนื่องจากน้ำยางมีความเหนียวมากในขั้นตอนของการเก็บเกี่ยวจะมีน้ำยางที่ติดค้างอยู่ที่จอกยางซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้แห้งแล้วเก็บไปขายในลักษณะขี้ยางซึ่งเป็นยางที่ขายได้ราคาถูกและคุณภาพต่ำกว่าน้ำยางสด จึงพัฒนางานวิจัยที่มีชื่อว่า “น้ำยาพ่นเคลือบผิวที่มีคุณสมบัติไม่ชอบน้ำยางอย่างยิ่งยวด”เมื่อเปรียบเทียบภาพรวมของไทย สวนยางพารา 1 ไร่ เฉลี่ยปลูกยางได้ประมาณ 75 ต้น จากข้อมูลเมื่อปี 2556 พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่ที่สามารถกรีดยางได้ประมาณ 15,130,363 ไร่ จะมีต้นยางพาราประมาณ 1,134,777,225 ต้น หากยังปล่อยให้มีการสูญเสียน้ำยางในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 กรัมต่อต้นต่อวัน คิดเป็นน้ำยางที่สูญเสียไปประมาณ 2,270 ตันต่อวัน
บริษัท วอนนาเทค จำกัด ได้เล็งเห็นถึงประสิทธิภาพของงานวิจัยน้ำยาพ่นเคลือบผิวที่มีสมบัติไม่ชอบน้ำยางอย่างยิ่งยวด จึงมีการขออนุญาตใช้สิทธิจากทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นำผลงานวิจัยดังกล่าวไปผ่านกระบวนการผลิตนำร่องเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ประเภทใช้ชื่อทางการค้าว่า “ฟาสซี่ (Fazzy)” เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการเคลือบผิวจอกยาง และ “แล็กซ์ (lax)” เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเคลือบผิวภาชนะที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำยางข้นและคาดว่าจะขยายผลไปยังอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำยางพาราต่อไป
ที่มาข่าว/ภาพ : ผู้จัดการออนไลน์