กระทรวงอุตสาหกรรม ปล่อยกู้ระยะสั้น สินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง เรียก 6 แบงก์ผู้ประกอบการคุยเงื่อนไขปล่อยกู้ระยะสั้นเพื่อซื้อน้ำยางดิบอีก 1 หมื่นล้าน คาดช่วยดึงยางเข้าระบบ 2 แสนตัน พยุงราคาขึ้น 3 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)
รมว.อุตสาหกรรม ได้อนุมัติมาตรการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ มี 2 โครงการที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องร่วมดำเนินการ ได้แก่โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิตหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ในอุตสาหกรรมยาง ภายใต้วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 5% ซึ่งรัฐบาลจะให้การอุดหนุน 3% หรือราว 4,500 ล้านบาท ผู้ประกอบการจ่าย 2% โดยมีธนาคารออมสินเป็นผู้ให้สินเชื่อ ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 10 ปีอีกโครงการเป็นการให้สินเชื่อระยะสั้น ได้แก่โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้น เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรน วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อการซื้อยางส่วนเกินออกจากระบบในช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก คือ เดือนพ.ย. 2557 เม.ย. 2558 คาดว่าจะทำให้สามารถดูดซับปริมาณยางที่จะเข้าสู่ระบบได้ประมาณ 2 แสนตัน ส่งผลให้ราคายางเพิ่มขึ้นทันทีประมาณ 2-3 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) และราคาจะได้ตามเป้าหมายคือ 66 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)
สินเชื่อหมุนเวียนนี้จะเป็นสินเชื่อที่ให้ผ่านธนาคาร 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต ระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% โดยรัฐบาลจะอุดหนุน 3% ผู้กู้จ่าย 2% ตลอดอายุโครงการ
ที่มาข่าว : โพสต์ทูเดย์