คำถามที่พบบ่อย FAQ

มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) ในอุตสาหกรรม

มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor)

มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) ส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการเคลื่อนย้ายใช้มอเตอร์เป็นตัวขับเคลื่อนลาก เป็นต้น

มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม ปั๊ม เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ มอเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้า มาเป็นพลังงานกลโดย จ่ายไฟกระแสตรง (DC) เช่น จากแบตเตอรี่, ยานยนต์หรือวงจรเรียงกระแส หรือจากจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) เช่น จากไฟบ้าน อินเวอร์เตอร์ หรือ เครื่องปั่นไฟ มอเตอร์ขนาดเล็กอาจจะพบในนาฬิกาไฟฟ้า

มอเตอร์ทั่วไปที่มีขนาดและคุณลักษณะมาตรฐานสูงจะให้พลังงานกลที่สะดวกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดใช้สำหรับการใช้งานลากจูงเรือ และ การบีบอัดท่อส่งน้ำมันและปั้มป์สูบจัดเก็บน้ำมันซึ่งมีกำลังถึง 100 เมกะวัตต์ มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าหรือตามโครงสร้างภายในหรือตามการใช้งานหรือตามการเคลื่อนไหวของเอาต์พุต และอื่น ๆ

สำหรับงานในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ควรเลือก มอเตอร์ไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (220 V) ซึ่งเป็นมอเตอร์ที่ใช้ตาม บ้านเรือนมีสายต่อเข้ามอเตอร์ 2 เส้น แต่วงจรภายในก็แล้วแต่ทางบริษัทจะออกแบบตาม มาตราฐาน NEMA design A, B และ E เหมาะที่จะใช้ กับเครื่องจักรทั่วๆ ไป เช่น พัดลม ปั๊มหอยโข่ง เครื่องอัดอากาศ ซึ่งต้องการใช้แรงบิดในขณะที่เริ่มเดินต่ำ และใช้แรงบิดเพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วสูงขึ้น หรือแบบ 3 เฟส (220 V./ 380 V.) เป็นมอเตอร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก เพราะจะสามารถให้กำลัง Out Put ได้สูงกว่าแบบ 1 เฟส

สำหรับงานในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มอเตอร์ 1 เฟส (220 V)


สำหรับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ควรเลือกแบบ 3 เฟส ( 380 V./ 660 V.) ความเร็วรอบคงที่เนื่องจากความเร็วรอบขึ้นอยู่กับความถี่ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีราคาถูกโครงสร้างไม่ซับซ้อน สะดวกในการบำรุงรักษา

สำหรับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มอเตอร์ 3 เฟส ( 380 V./ 660 V.)

สำหรับการนำไปใช้ใช้งานลำเลียง ที่ต้องการรอบช้าๆ ควรเลือกใช้เป็นประเภทมอเตอร์เกียร์ตามมาตรฐาน NEMA design C ใช้ในเครื่องจักร เช่น สายพานลำเลียงวัสดุ (Conveyor) ซึ่งต้องการแรงบิดเริ่มต้นเดินสูงกว่าแรงบิด ขณะใช้งานเต็มพิกัด

แต่ในงานที่ต้องการใช้กับเครื่องจักรที่มีการเปลี่ยนแปลงโหลดเพิ่มขึ้น และลดลงตลอดเวลาหรือมีการหยุด และเดินเครื่องบ่อย เช่น เครื่องปั๊มขึ้นรูปแผ่นโลหะ เครน ควรใช้เป็นประเภท มอเตอร์เบรค ตามมาตราฐาน NEMA design D

ที่มา : memagazine และ wikipedia